2556-10-22

การดูแลสุขภาพของชายรักชาย พญ. ชัญวลี ศรีสุโข (chanwalee@srisukho.com) ประมาณการจากการสำรวจโดยสถาบัน วิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ.2550 พบว่ามีชายรักชายในประเทศไทย 1.3-3.2 ล้านคน (เฉลี่ย 2.3 ล้านคน) โดยมีจำนวนที่ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 189,626-474,064 คน สุขภาพของชายรักชายสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งอาจไม่ค่อยได้รับการดูแล เนื่องจากความรู้ในการดูแลสุขภาพของชายรักชายไม่แพร่หลาย, การเข้าถึงการแพทย์สำหรับชายรักชายบางรายอาจไม่สะดวกนัก, ชายรักชายอาจเกรงบุคลากรทางการแพทย์มีอคติ, การเข้าพบแพทย์ตามลำพังยากสำหรับสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลทั่วไป, และอาจมีปัญหาเศรษฐานะของชายรักชายบางรายที่ไม่เอื้อที่จะซื้อบริการทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ชายรักชายควรได้รับการดูแลสุขภาพซึ่งมีลักษณะพิเศษที่ควรจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนี้ 1.มะเร็ง ชายรักชายมีความเสี่ยงสูงกว่าประชากรทั่วไปที่จะเป็นมะเร็งทวารหนัก สาเหตุคือเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวีชนิดเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ร้อยละ 70 เป็นเอชพีวีชนิด 16, 18 การตรวจหามะเร็งทวารหนักระยะเริ่มแรก โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็ง แบบการทำแป๊บสเมียร์ตรวจมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง แม้ได้ผลดี แต่ยัง ไม่ตกลงเป็นมาตรฐานการคัดกรองในชายรัก ชาย ดังนั้น ชายรักชายควรเฝ้าระวังอาการที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งทวารหนัก คือ มีเลือดออกจากทวารหนัก ปวดถ่วงทวารหนัก ถ่ายไม่สุด ถ่ายแล้วปวด ก้อนอุจจาระลีบเล็ก มีก้อนเนื้อที่ทวารหนัก หากมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบไปพบแพทย์ การป้องกันมะเร็งทวารหนัก นอกจากการเฝ้าระวังอาการแล้ว แนะนำให้เพศชาย อายุ 9-26 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี ซึ่งป้องกันมะเร็งทวารหนักที่เกิดจากไวรัสเอชพีวี ได้ประมาณร้อยละ 70 2.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แม้มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิดในชายรักชาย แต่ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ชายรักชายที่ยังไม่มีอาการผิดปกติของโรคตรวจคัดกรองหาโรคเอดส์ ซิฟิลิส เชื้อหนองในเทียม และหนองในแท้ เป็นประจำ ซึ่งทั้งสี่โรคหากมีการสวมถุงยางอนามัยถูกวิธี และสวมทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้เอดส์ การคัดกรองเอชไอวีเอดส์ใช้วิธีตรวจเลือด ส่วนการป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ใน ชายรักชายที่ได้ผลที่สุดคือ ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อเอชไอวีเอดส์, รักเดียวใจเดียว, สวม ถุงยางอนามัย, และรับยาต้านไวรัสเอดส์เมื่อสัมผัสเชื้อก่อน 72 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบการสวมถุงยางอนามัยถูกวิธีและสวมทุก ครั้งในชายรักชาย ป้องกันเอดส์ได้ร้อยละ 80 เท่านั้นซิฟิลิส เชื้อซิฟิลิสไม่อาจติดต่อได้ หากผิวหนังของฝ่ายรับไม่มีแผล หากมีแผลหรือรอยฉีก เชื้อซิฟิลิสจึงจะเข้าไปในร่างกาย ระยะเวลาเพาะเชื้อ 1-8 สัปดาห์ เริ่มแรกจะเป็นตุ่มเล็กต่อมากลายเป็นแผลริมแข็งไม่เจ็บ หากไม่ได้รักษาอาจมีอาการออกผื่น ข้ออักเสบ เชื้อเข้าสู่ สมอง สู่หัวใจ จนอาจถึงอันตรายต่อชีวิต ถ้ายังไม่มีอาการใดๆ การคัดกรองซิฟิลิสใช้วิธีตรวจเลือดหนองในเทียม อาการของหนองในเทียม คืออาการของท่อปัสสาวะอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อหนองในแท้ ในผู้ชายมักมีอาการปัสสาวะแสบขัด ร้อนคันรูปัสสาวะ มีน้ำหรือหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ หากสังเกตกางเกงในจะเห็นเปื้อนหนอง หากไม่รักษา หรือรักษาไม่ถูกต้อง เชื้อหนองในเทียมอาจลุกลามจนเกิด ลูกอัณฑะอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ มีผื่นตามตัว ในบางรายอาจมีอาการปวดข้อร่วมกับตาแดง ตามมาด้วยอาการเป็นหมัน ในกรณีที่ยังไม่มีอาการ การคัดกรองคือการนำสารคัดหลั่งจาก รูปัสสาวะมาย้อมหาเชื้อหรือเพาะเชื้อหนองในแท้ อาการเหมือนหนองในเทียม แต่ตรวจพบเชื้อโกโนเรียจากหนองที่รูปัสสาวะ หากไม่รักษา หรือรักษาไม่ถูกต้อง เชื้อหนองในแท้อาจลุกลามจนเกิดลูกอัณฑะอักเสบ ต่อม ลูกหมากอักเสบ ท่อปัสสาวะตีบตัน ในบางรายอาจมีอาการปวดข้อร่วมกับมีไข้ ตามมาด้วยอาการเป็นหมัน ในกรณีที่ยังไม่มีอาการ การคัดกรองคือการนำสารคัดหลั่งจากรูปัสสาวะมาย้อมหาเชื้อหรือเพาะเชื้อ 3.สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพสารเสพติด งานวิจัยพบว่าชายรักชายมีปัญหาเหล่านี้สูงกว่าประชากรทั่วไป ทำให้สุขภาพทรุดโทรม การดื่มเหล้า เสพสารเสพติด อาจทำให้มีการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ ไวรัส ตับอักเสบเอ บี ซี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกโรค จึงมีข้อแนะนำให้ชายรักชายที่ถูกข่มขืนไปพบแพทย์ และควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี (ไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีน) ทั้งหากเป็นไปได้ ชายรักชายควรละ ลดเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพสารเสพติด 4.สุขภาพจิต งานวิจัยบางชิ้นพบอาการผิดปกติทางจิตในชายรักชายมากกว่าประชากรทั่วไป ได้แก่ โรคซึมเศร้าและโรคไบโพล่าร์ (มีความผิดปกติทางอารมณ์สองขั้ว คือรื่นเริงและซึมเศร้า) เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูด้วยความรุนแรงในครอบครัว ทำให้ชายรักชายเกิดความกลัว เครียด วิตกกังวล หากมีความผิดปกติทางจิต ควรพบจิตแพทย์เพื่อตรวจรักษา 5.ความรุนแรงในครอบครัว งานวิจัยพบว่าคู่ของชายรักชายกระทำความรุนแรงต่อกันไม่มากกว่าคู่ของชายรักหญิง แต่เชื่อว่าอาจเพราะข้อมูลที่มีไม่มากพอ ชายรักชายที่ถูกชายข่มขืนมักจะไม่แจ้งความ เนื่องจากความอาย ในชายรักชายบางคน การแจ้งความตามสิทธิอาจถูก ซ้ำเติมจากบุคคลอื่นๆ ในสังคม สรุป ชายรักชายเป็นประชากรที่มีจำนวนมากในทุกประเทศทั่วโลก เป็นเช่นเดียวกับประชากรทุกกลุ่มทุกเพศคือมีส่วนสร้างความเจริญให้ประเทศ การดูแลสุขภาพของชายรักชายจึงเป็นเรื่องที่รัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชายรักชายเองควรให้ความสำคัญไม่ละเลย ด้วยความปรารถนาดีจากพญ. ชัญวลี ศรีสุโข โฆษกแพทยสภา
ในหลวงกับการแพทย์ไทย http://www.youtube.com/watch?v=_LQPQg9KNWg
http://www.youtube.com/watch?v=Kcgb55qIcUg

แพทยสภา 45 ปี ภารกิจเพื่อประชาชน 9 ตุลาคม 2556




45 ปีแพทยสภา


             แพทยสภา จัดงานครบรอบ 45 ปี ในวันสถาปนา 9 ตุลาคม 2556 โดยฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดนิทรรศการ 45 ปี แพทยสภา และแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับการแพทย์ไทย” และนายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะสภานายกพิเศษ แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง“การแพทย์ไทยจะไปทางไหนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)”

                        วันที่ 9 ตุลาคม 2556 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดนิทรรศการ 45 ปีแพทยสภา การดำเนินงาน การพัฒนาในช่วง 4 ทศวรรษ  พร้อมทั้งความเป็นมาหลักสูตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารทางการแพทย์ โครงการแพทย์อาสาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ครบรอบ 85 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครบรอบ 80 พรรษาและการบันทึกสถิติโลก (Guinness World Record) เฉลิมพระเกียรติ เมื่อ 17 มีนาคม 2556 โดยนักศึกษา ปธพ.1 แพทยสภา และสถาบันพระปกเกล้า พร้อมทั้งผลงานวิชาการนักศึกษา 10 เรื่อง
                                    ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์  โลห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่าวันที่ 9 ตุลาคม 2556 ถือเป็นวันครบรอบสถาปนา 45 ปีของแพทยสภา ซึ่งแพทยสภา ถือกำเนิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 โดยวัตถุประสงค์ของแพทยสภาคือ
(1)   ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรม
แห่งวิชาชีพเวชกรรม
(2)   ส่งเสริมการศึกษา   การวิจัย   และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในทางการ
แพทย์
(3)   ส่งเสริมความสามัคคี  และผดุงเกียรติของสมาชิก
(4)   ช่วยเหลือ  แนะนำ  เผยแพร่  และให้การศึกษาแก่ประชาชน  และองค์กรอื่น
ในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข

(5)   ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการ
สาธารณสุข
(6)   เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย
รวมทั้ง แพทยสภามีอำนาจหน้าที่คือ
(1)    รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(2)    พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(3)    รับรองปริญญา  ประกาศนียบัตรในสาขาวิชาแพทยศาสตร์  หรือวุฒิบัตรใน
วิชาชีพเวชกรรมของสถาบันต่าง ๆ
(4)    รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบัน
ทางการแพทย์
(5)    รับรองวิทยะฐานะของสถาบันทางการแพทย์ที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
(6)    ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ
วิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาชีพเวชกรรม
                        งานของแพทยสภาที่ได้ดำเนินการมาและต้องทำต่อไปมีจำนวนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และเรื่องทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแพทย์ต้องมีแพทยสภาร่วมอยู่ด้วยเสมอ แพทยสภาจึงต้องดูแลทั้งแพทย์และประชาชน สมดังคำขวัญแพทยสภาที่ว่า แพทยสภายุคใหม่    ยกคุณภาพแพทย์ไทย โปร่งใส ใส่ใจประชาชน
และในปีนี้มีสิ่งสำคัญซึ่งต่างจากทุกปีคือการที่ "แพทยสภา"ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักธรรมาภิบาลตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดเป็นโครงการหลักสูตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารทางการแพทย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะท่านเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ในการจัดหลักสูตร ตามหลักคิดว่า แนวทางในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศในยุคต่อไปต้องเกิดขึ้นอย่างโปร่งใส บนพื้นฐานคุณธรรมและการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน

นายกแพทยสภา กล่าวต่อว่า แพทยสภา ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า จัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร
ธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารทางการแพทย์  รุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 โดยมีผู้เข้ารับการอบรมที่
เป็นแพทย์ผู้บริหารทางการแพทย์สายสาธารณสุขในองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน  จำนวน 120
ท่าน
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารทางการแพทย์ รุ่นที่ 1  แพทยสภาในฐานะ
สภาวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มีภารกิจตั้งแต่กำกับดูแล
การผลิตนักศึกษาแพทย์ใน 21  คณะแพทยศาสตร์  ไปจนถึงควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมกว่า 40,000 คน ในสาขาเชี่ยวชาญ 80 สาขา ภายใต้ 14 ราชวิทยาลัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งต้องรับผิดชอบการตรวจรักษาผู้ป่วยกว่า 200 ล้านครั้งต่อปีในทุกภาคส่วน 
นอกจากความซับซ้อนทางวิชาการแพทย์ตามเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความซับซ้อนทางด้านสังคมวิทยา
เศรษฐกิจและกฎหมายโดยเฉพาะด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  ด้านเศรษฐกิจทั้งใน
ระดับอาเซียนและระดับโลก  ด้านกฎหมายมหาชนซึ่งมีผลต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งแพทย์และ
ผู้บริหารสายแพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อภาวะวิสัยทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สมดุล ในการดูแลประชาชนในระบบสุขภาพ
ของประเทศภายใต้ทรัพยากรอันจำกัด
 ทั้งนี้แพทยสภาขอขอบคุณ สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะที่เป็นสถาบันศึกษาด้านการเมือง การปกครอง
กฎหมายและเศรษฐศาสตร์อันดับสูงสุดของประเทศภายใต้รัฐสภา ในฐานะที่เป็นสถาบันที่ผลิตผู้บริหาร
ระดับสูงหลากหลายสาขาและเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม  จึงถือเป็นโอกาส อันเหมาะสมที่ทั้งสองสถาบันจะได้
บูรณาการองค์ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ แก่ผู้บริหารสายแพทย์และสาขาที่เกี่ยว
ข้อง เพื่อผลิตบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในการสร้างความเจริญพัฒนาของประเทศไทยต่อไป

นอกจากนี้แพทยสภา ได้ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และกระทรวงสาธารณสุข  จัดโครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบรอบ 85 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติของแพทย์อาสาทุกท่านที่เข้าร่วมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมแพทย์เฉพาะทางตาที่ออกบริการดูแลรักษาประชาชนจำนวนมากที่สุดครั้งแรกในโลก สร้างชื่อบันทึกลง สถิติโลกกินเนสบุ๊ค (Guinness Book World Record) ให้บริการตรวจตา 450 คน ใน 1 ชั่วโมง พร้อมด้วยทีมแพทย์อาสาสมัครอีกกว่า 300 ราย ซึ่งการออกหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ

 “The most eye tests performed in one hour were achieved to celebrate His Majesty the King's 85th and Her Majesty the Queen's 80th Birthday Anniversaries by The Medical Council of Thailand and King Prajadhipok's Institute, in Ayuddhaya, Thailand, on 17 March 2013”

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ยังได้กล่าวแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารทางการแพทย์ (ปธพ.1)  ซึ่งจบการศึกษา แพทยสภาได้มอบเข็มเชิดชูเกียรติแพทยสภาให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น อดีตนายกแพทยสภา อดีตเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสภา วาระปัจจุบัน และมอบเข็มเกียรติคุณ ปธพ. ให้กับ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า, รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มอบโล่ นักศึกษาดีเด่น มอบเข็มเกียรติคุณ และเกียรติบัตรให้กับนักศึกษา ปธพ.1 จำนวน 120 ท่าน รวมทั้งมอบเกียรติบัตรให้กับผู้ให้การสนับสนุนหลักสูตรฯ
หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีเป้าประสงค์ที่จะสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของวงการแพทย์ไทย ซึ่งนานาอารย ประเทศได้ชื่นชมประเทศไทยในความสำเร็จทั้งด้าน Medical Hub และ  Universal Coverage อย่างไรก็ตามยังคงมีความท้าทายอีกมากในการพัฒนาวงการแพทย์วงการสาธารณสุขของประเทศไทย ให้เกิดความยั่งยืนและสมดุล หลักสูตรนี้จะเป็นเวทีที่ช่วยเสริมการพัฒนาดังกล่าว ภายใต้หลักการธรรมาภิบาล ซึ่งในรุ่น 1 นี้แพทยสภาได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญในบ้านเมือง ทั้งท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ท่านชวน หลีกภัย และอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ท่านนายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร มาร่วมเป็นนักศึกษาในหลักสูตร นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารทางการแพทย์ระดับสูงจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนมาร่วมชั้นเรียนเป็นเวลา 5 เดือน    และในวันนี้ถือเป็นวันสำคัญที่นักศึกษาทั้ง 10 กลุ่ม จะได้ทั้งร่วมกันนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาระบบสาธารณสุขไทยและสังคมต่อท่านสภานายกพิเศษ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)เป็นครั้งแรก
หมายเหตุ : ผลการวิจัย (ฉบับย่อ)ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันพระปกเกล้าแล้ว
                                    (มีเอกสารฉบับเต็มแจกผู้เข้าร่วมงานที่สนใจ และสื่อมวลชน)
กลุ่มวิชาการที่ 1             เรื่อง การศึกษาด้านอัตรากำลังแพทย์และพยาบาล : นโยบายและแนวทางแก้ไข
กลุ่มวิชาการที่ 2             เรื่อง การพิจารณาคดีจริยธรรมของแพทยสภา : ศึกษาคำพิพากษาศาลปกครอง
กลุ่มวิชาการที่ 3             เรื่อง การบริหารการจัดการทางแพทย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กลุ่มวิชาการที่ 4             เรื่อง ระบบการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับระบบสุขภาพไทยที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
กลุ่มวิชาการที่ 5             เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแพทย์ภาคเอกชนในการตัดสินใจไปทำงานในประเทศ
                                        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
กลุ่มวิชาการที่ 6             เรื่อง บทบาทกระทรวงสาธารณสุขในด้านบริหารจัดการระบบสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
กลุ่มวิชาการที่ 7             เรื่อง การเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนสำหรับบริการสาธารณสุขของประเทศไทย : กรณีศึกษาการเพิ่มบริการเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่
กลุ่มวิชาการที่ 8             เรื่อง แนวทางของการจัดการบริการส่วนเอกชนในโรงพยาบาลของรัฐอย่างมีธรรมาภิบาลกรณีศึกษาโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
กลุ่มวิชาการที่ 9              เรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2545
กลุ่มวิชาการที่ 10            เรื่อง ธรรมาภิบาลสำหรับศูนย์กลางการแพทย์ระดับนานาชาติ




https://www.youtube.com/watch?v=Kcgb55qIcUg