2552-08-26

วิเคราะห์ ภาพยนตร์เรื่อง Australia : ออสเตรเลีย: บริบทการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

ภาพยนตร์เรื่อง ออสเตรเลีย( Australia) :


Synopsis : Lady Sarah Ashley (Nicole Kidman) is a prim and proper English woman who journeys to northern Australia She is determined to have her estranged husband sell his cattle ranch to a monopoly-craving businessman named King Carney (Bryan Brown). When she arrives, Lord Ashley is dead, and her plan to sell the ranch changes when she sees an employee named Fletcher (David Wenham) cheating her husband's business and mistreating a young boy named Nullah (Brandon Walters) because he is of mixed race. Urged on by both pride and a sense of justice, Lady Ashley wants to drive her herd of cattle to Darwin so she can sell them to the troops, but she'll require the help of an independent cowboy Drover (Hugh Jackman) to get them there. As the pair drive 2,000 head of cattle over unforgiving landscape, they experience the bombing of Darwin by Japanese forces as the World War II reached the country's shores

เนื้อเรื่องย่อ

Australia เป็นเรื่องราวการบันทึกของ เลดี้ ซาร่าห์ แอชลีย์ (นิโคล คิดแมน) ชาวอังกฤษ สามีของ ซาร่าห์ คือ ลอรด์แอชลีย์ ตลอดปีที่ผ่านมาใช้ชีวิตและทำงานในออสเตรเลีย แต่ประสบปัญหา ด้านการเงินที่ทิ้ง พอก พูน เอาไว้ ที่ซาร่าห์ต้องจดการ รวมทั้งไปดูทรัพย์สินชิ้นสุดท้ายที่เตรียมจะขาย มีชื่อเรียกว่า "Faraway Downs" นั่นคือสถานที่เลี้ยงปศุสัตว์ที่มีขนาดเท่ากับรัฐแมรี่แลนด์ ซาร่าห์จึงเดินทางโดย เรือบินไปยัง ด่าน หน้าของ พื้นที่ เขตร้อนของออสเตรเลียตอนเหนือคือเมืองดาร์วิน เพื่อจะเตรียมจัดการเรื่องต่างๆ ด้วยตัว เธอเอง แต่เมื่อเธอได้ไปถึงที่เมืองดาร์วิน เธอไม่ได้พบกับสามีของเธอ สามีเธอได้ให้ โดรเวอร์ (ฮิวจ์ แจ๊คแมน) หนุ่มนักต้อนสัตว์ที่หยาบคายและอารมณ์ร้อน มาคอยต้อนรับเธอ ซาร่าห์และ โดรเวอร์ ได้เดินทางไปยัง Faraway Downs ในระหว่างทางทั้งสองคนได้ค้นพบ สิ่งที่ ทั้ง คู่ไม่ชอบ เหมือนกัน ๆ หลังจากมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่พลิกผันเกิดขึ้นหลายครั้ง และเมื่อเธอไปถึง Faraway Downs สามีเธอก็เสีย ชีวิตแล้วจากฝีมือของ คิง จอร์จ (เดวิด กัลพิลิล) พ่อมดชาวอะบอริจิ้น ซาร่าห์ ได้รู้จักกับเด็กลูกครึ่งชาวอะบอริจิ้น ผู้น่ารักมีชื่อว่า นูลล่าห์ (แบรนดอน วอลเตอร์) ซึ่งเข้ามา เป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิต นับตั้งแต่นั้น นูลล่าห์ได้เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ให้กับซาร่าห์ ว่าทุกสิ่ง ไม่ได้เป็นอย่าง ที่เธอคิด นีล เฟลทเชอร์ (เดวิด เวนแฮม) ซึ่งเป็นผู้จัดการสถานที่เลี้ยงปศุสัตว์ มีความโหดร้ายได้สมคบคิด กับเจ้าพ่อค้าสัตว์ที่ใหญ่แห่งเมืองดาร์วิน ที่ชื่อ คิง คาร์นีย์ (ไบรอัน บราวน์) ร่วมกันวางแผนที่จะขโมยที่ดินและสัตว์ของ ซาร่าห์ ดังนั้น เพื่อรักษา Faraway Downs เอาไว้ ซาร่าห์ต้องร่วมมือกับโดรเวอร์ เพื่อต้อนฝูงสัตว์ จำนวน 1,500 ตัว เพื่อข้ามพื้นที่ออสเตรเลีย ตอนเหนือซึ่งนับเป็นการเดินทางที่น่าตื่นเต้น แต่ก็เต็มไปด้วยความ โหดร้าย ในเวลาเดียวกัน มิตรภาพจากคนที่แตกต่างกันทั้งสามคน ที่ได้ร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคครั้งใหญ่ ในการเดินทางไกลหลายร้อยไมล์ นอกเหนือจาก นูลล่าห์แล้ว พวกเขายังมีผู้ร่วมเดินทางที่ ไม่ค่อยจะเข้าท่า มาร่วมเผชิญชะตาด้วย ไม่ว่าจะเป็น คิปลิ้ง ฟลินน์ (แจ็ค ท็อมป์สัน) นักบัญชีขี้เมา, มาการ์ริ (เดวิด งุมบูเจอร์รา) กับ กูลาจ (แองกัส พิลาคิว) สองหนุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์ให้ โดรเวอร์, แบนดี้ เลกส์ (ลิเลียน ครอมบี้) แม่บ้านชาวอะบอริจิ้น, ซิง ซอง (หยวน หวา) พ่อครัวชาวจีน, และไม่นานนักพวกเขา ก็พบว่า ตกอยู่ ใต้การชักนำของ คิง จอร์จ (เดวิด กัลพิลิล) พ่อมดชาวอะบอริจิ้น
ความงดงามของพื้นที่แห่งนี้ การค้นพบความโรแมนติก ในภูมิประเทศ, ความเสน่หาที่มีต่อ โดรเวอร์ รวมทั้งความรักแห่งเพศแม่ที่มีต่อ นูลล่าห์ทำให้ซาร่าห์เปลี่ยนความรู้สึก ความคิดไปจากเดิม เป็นอย่างมาก เมื่อสงครามมาถึงชายฝั่งของออสเตรเลีย ครอบครัวก็ต้องถูกพรากจากกัน ตอนนี้ซาร่าห์, โดรเวอร์และนูลล่าห์ ต้องต่อสู้เพื่อค้นหากันและกัน ในท่ามกลางโศกนาฏกรรม ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม เชื้อชาติ และความวุ่นวายทางการเมือง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ทิ้งระเบิด ถล่ม เมือง ดาร์วินจนพังพินาศ

วิจารณ์หนังออสเตรเลีย : การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เป็นกระบวนการถ่ายทอด/รับรู้ และตีความหมายปฏิสัม พันธ์ และสัญลักษณ์ระหว่าง คนที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน ภายใต้บริบทการสื่อสารหนึ่ง ๆ ในปัจจุบัน ความเข้าใจเรื่องการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากความเข้า ใจการสื่อสารทางด้านวัฒนธรรม ไม่ได้มีบทบาทเฉพาะในการสื่อสารระดับบุคคล หรือระดับกลุ่มภายในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเท่านั้น แต่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาภายในประ เทศและระหว่างประเทศ เมื่อผู้ที่มาจากคนละวัฒนธรรม จำเป็นต้องติดต่อหรือพบปะกัน จึงควรมีวิธีการที่ช่วย ให้ทั้งสองฝ่าย สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเราได้มีโอกาสติดต่อสื่อสาร กับวัฒนธรรมอื่นและรู้จักวัฒนธรรมอื่นมากขึ้น นอกเหนือจากวัฒนธรรมของเราเอง โอกาสของการถ่ายเทและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ระหว่างกลุ่ม / ระหว่างวัฒนธรรม จึงมีมากขึ้น จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การปรับตัวเข้าสู่วัฒนธรรมใหม่” (acculturation) และ ”การกลืนหรือกลาย วัฒนธรรม” (assimilation) รวมถึงการสร้างอาณาจักรวัฒนธรรมหนึ่งเหนืออีกวัฒน ธรรมหนึ่ง ( cultural imperialism ) ตรงนี้อาจเกิดความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือศาสนา ภาพยนตร์เรื่อง Australia เป็นเรื่องราวที่ผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรม ความเชื่อชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน การผจญภัย ความรัก และการต่อสู้ร่วมกัน รวมถึง การสร้างภาพแบบเหมารวม ของวัฒนธรรมคนผิวขาว คนผิวดำ ชาวอะบอริจิ้นและชาวอะบอริจิ้นลูกผสม กับคนผิวขาว รวมทั้งกระบวนการกลืนกลายวัฒนธรรมของคนผิวขาว ซึ่งมีความยึดมั่นต่อความเป็นตัวตน หรือความเป็นชาตินิยมของตนอย่างแรงกล้า จะประเมินคุณค่าและวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองอะบอริจิ้น โดยใช้กลุ่มหรือ สังคมของตนเป็นมาตรฐาน หรือศูนย์กลาง เรียกว่า “อคติในเชิงชาติพันธุ์ ” หรือ “อคติในทางวัฒนธรรม” ในเรื่องออสเตรเลียนี้คนผิวขาว มีพฤติกรรมแยก แสดงการเหยียด ความรังเกียจคนผิวดำเป็นอย่างมาก การใช้ความรุนแรง การฆ่าและสงครามล้างเผ่าพันธุ์
ออสเตรเลีย เปิดฉากในช่วงเวลาก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเริ่มขึ้น สุภาพสตรีที่อยู่ในวง สังคม ชั้นสูงในอังกฤษ ออกเดินทางสู่ทวีปที่ห่างไกล และพบกับหนุ่มท้องถิ่นที่หยาบกระด้าง และต้องฝืนใจตกลงร่วมมือกับเขา เพื่อที่จะรักษาผืนแผ่นดินที่เธอได้รับเป็นมรดกตกทอดมา ทั้งสองออกเดินทางสู่การค้นหาตัวเอง ข้ามประเทศเป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ ผ่านธรรมชาติที่งดงามที่สุดในโลกอย่างยากลำบาก เพื่อที่จะเผชิญกับการทิ้งลูกระเบิดใส่เมืองดาร์วิน ในสงครามโลก ครั้งที่สอง โดยกองทัพออสเตรเลีย ได้สู้เคียงข้างกองทัพอังกฤษ แต่ในที่สุด สหรัฐอเมริกา ได้ช่วยปกป้องออสเตรเลีย จากการรุกรานของกองทัพอากาศญี่ปุ่น โดยเอาชนะญี่ปุ่นในสงครามที่เรียก ชื่อกันว่า “แบทเทิล ออฟ เดอะโครอลซี”

จะขอเริ่มจากบันทึกการเดินทางของสาวอังกฤษที่เดินทางมายังประเทศอันห่างไกลที่ตนไม่คุ้นเคยคือ เลดี้ ซาร่าห์ แอชลีย์ (นิโคล คิดแมน) สาวอังกฤษไฮโซ ที่เดินทางมาออสเตรเลีย เพื่อมาหาสามีของตนที่ทำธุรกิจอยู่ที่นี่ แต่สามีถูกฆ่าตาย และเธอได้รับความช่วยเหลือจาก โดรเวอร์(ฮิวจ์ แจ็กแมน) คนต้อนวัว ที่เขากล่าวว่า ไม่มีใครเป็นเจ้านายเขา เขาทำงานต้อนวัวของเขาเอง ทั้งคู่ได้เจอกัน พร้อมๆกับพบรักกับคนท้องถิ่นทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เหมาะสม ออสเตรเลียเป็นหนังสงครามที่พูดเกี่ยวกับ การเหยียดผิว การเมือง การล่าอาณานิคม ในขณะเดียวกันกับที่เลดี้ซาร่าห์ ก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรม และใช้ชีวิตร่วมกับคนพื้นเมือง คือชาวอะบอริจิ้น
หนังเรื่อง Australia ได้สะท้อนประวัติศาสตร์ ความเชื่อมนุษยนิยม และวิวัฒนาการทางสังคม ระหว่างชนพื้นเมืองชาวอะบอริจิ้น คนผิวขาว คนผิวดำ และคนผิวผสม (ลูกครึ่งของชาวอะบอริจิ้นและคนผิวขาว)ในเรื่อง คนผิวขาวจะถือวัฒนธรรมหรือชาติพันธุ์ของตนเองเป็นศูนย์กลาง (ethnocentrism ) คิดว่าตัวเองเป็นชนเชื้อชาติสูง มีอารยะเหนือกว่าคนผิวดำและชาวพื้นเมือง จึงมักจะกดขี่ ข่มเหงผู้หญิง เพื่อบำเรอความใคร่และเป็นทาสแรงงานสารพัด การเหยียดผิว และความแตกต่างทางชนชั้น ทำให้คนผิวขาวมองคนผิวดำยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เหมือนไม่มีตัวตนในสังคมนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่เรียกตัวเองว่าผู้ดี จะจับ จะหยิบจองสิ่งใด ยิ่งกว่ามีศักดิ์และสิทธิ์ อ้างทุก อย่างเป็นของตน ทั้ง ๆ ที่เนื้อแท้ตนเป็นผู้ฉกฉวยเอาของคนอื่นไปอย่างมารยาทดีและทำทุกอย่างให้ถูกกฎหมายด้วย เพราะตัวเองก็เป็นคนร่างกฎหมาย ในภาพยนตร์จะเห็นว่า คนผิวดำถูกห้ามเข้าแม้แต่ร้านเหล้าที่เป็นของคนผิวขาว ถูกเหยียดเป็นทาสรับใช้ ไม่ต่างอะไรกับหมูหมา ยิ่งลูกที่เกิดมาจากคนผิวขาวและผิวสีแล้ว เรียกว่า “เลือดผสม” ก็ถูกทิ้งเป็นผักปลา หาค่าอะไรไม่ได้เลย เพียงเพราะเขาเจือผิวสีดำมาจากแม่ หรือพ่อที่เป็นคนพื้นเมือง
ในประวัติศาสตร์ความเป็นออสเตรเลีย กัปตันเจมส์ คุก ของอังกฤษเดินทางมาถึงอ่าวซิดนีย์ได้ตั้งแต่ 29 เมษายน 1770 และประกาศให้ดินแดนนี้เป็นของกษัตริย์จอร์จที่ 3 ของอังกฤษ โดยมีชนพื้นเมืองที่มีอยู่เป็นแสนๆ คนและอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ต่อเนื่องกันมาไม่น้อยกว่า 30,000 ปี เดิมทีอังกฤษไม่ได้สนใจที่จะมาตั้งถิ่นฐานที่ออสเตรเลีย จนกระทั่งอังกฤษเสียอาณานิ คมในทวีปอเมริกาไปจึงหันมาสนใจอาณานิ คมในซีกโลกใต้ในฐานะแหล่งที่จะนำ ‘นักโทษอังกฤษ’ ที่เนรเทศมาไว้ที่นี่ ดังนั้น การล่าอาณานิคมของอังกฤษและเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในออสเตรเลียจึงเริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคมปี 1788 มีการนำเอานักโทษคดีร้ายแรงจากอังกฤษประมาณ 1,000 คน พร้อมทหารภายใต้การนำของกัปตัน อาร์เธอร์ ฟิลลิป แล่นเรือเข้ามาใน ‘อ่าวโบทานี’ ในช่วงแรก ๆ ชาวอังกฤษมีความรู้สึกที่ดีกับชนชั้นพื้นเมือง บางรายถึงกับยกลูกสาวให้กับพวกอังกฤษก็มี เมื่อคนผิวขาวเริ่มขยับขยายตั้งรกราก โค่นต้นไม้ บุกเข้าไปปลูกพืช เลี้ยงแกะลึกเข้าไปเรื่อยๆ ความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรม ของชนชาติที่มีความคิดแตกต่างอย่างที่สุดจึงค่อยๆ ส่งผลกระทบและขยายตัวลุกลามกลายเป็นศัตรูกันในเวลาไม่นานนัก จะเห็นว่า วิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกอะบอริจิ้นมีความแตกต่างจากพวกผิวขาว คือ วิถีชีวิตของชาวอะบอริจิ้น มีแนวคิดแบบ ‘เคารพธรรมชาติ-เคารพแผ่นดิน’ เป็นที่สุด คือเป็นแหล่งชีวิต-แหล่งอาหารของตัวเอง ขณะที่การตั้งรกรากของนัก โทษ และทหารอังกฤษชุดแรก มีภาพของการโค่นต้นไม้ การล่าสัตว์ไม่ใช่เพื่อเอามากิน แต่เอาหนังกระรอก, หนังตัววอลลาบี, หนังจิงโจ้ มาขาย ยิ่งการรุกไล่เข้าไปตั้งถิ่นฐานยิ่งลึกเข้าไปในแผ่นดินมากเท่าไร การล้างผลาญธรรมชาติก็ยิ่งก่อให้เ กิดความขัดแย้งระหว่าง ชาวอังกฤษกับชาวอะบอริจิ้นมากขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกัน เมื่อดูด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวกับชนพื้นเมืองคือชาวอะบอริจิ้น พบว่า คนผิวขาวเหล่านี้กระทำตนเป็นผู้กดขี่ชาวอะบอริจิ้น ทั้งนี้เพราะนโยบายของรัฐผิวขาวที่กระทำต่อชาวอะบอริจิ้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กดขี่ จนถึงการกลืนวัฒนธรรม อาจกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย เป็นประวัติศาสตร์ แห่งการปิดปากชาวอะบอริจิ้น คนผิวขาวมีความพยายามที่จะเปลี่ยนชาวอะบอริจิ้นให้ “เจริญ” ขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “ทำให้เป็นคนผิวขาว” รวมทั้งเปลี่ยนจากคนนอกรีตให้หันมานับถือคริสต์ศาสนา มีการก่อตั้งโรงเรียน และสำนักสอนศาสนามากมาย เพื่อสอนชาวอะบอริจิ้น แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำ เร็จ เพราะชาวอะบอริจิ้น หากไม่หนีไปก็ต่อต้าน นอกจากนี้คนผิวขาวยัง มีความเชื่อว่า ชนเผ่าอะบอริจิ้นเป็นเผ่าพันธุ์ที่ไม่อาจพัฒนาได้ และจะต้องสูญพันธุ์ในที่สุด
ในหนังออสเตรเลีย จะพบว่า ในท่ามกลางลัทธิเหยียดผิวนั้น ชาวอะบอริจิ้นได้กลายมาเป็นแรงงานในไร่และปศุสัตว์ นายจ้างผิวขาวสนับสนุน ให้ชาวอะบอริจิ้น รวมอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลและสำนักสอนศาสนา เป็นการบังคับทางอ้อมให้ชาวอะบอริจิ้นต้องมาเป็นลูกจ้างรายได้ต่ำในปศุสัตว์ เพื่อความอยู่รอด ปัญหาที่ตามมาคือ ชาวอะบอริจิ้นไม่ได้ สูญพันธุ์ง่ายๆ ตามความคาดหวัง ปรากฏว่าอัตราการเกิดของ “เด็กลูกครึ่ง” มากกว่า เด็กผิวขาว รัฐบาล จึงตระหนกตกใจว่าจะเกิดเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่าทางพันธุกรรม (ตามความคิดแบบ white supremacy ที่คิดว่าคนผิวขาว คือเผ่าพันธุ์ที่เหนือกว่าชนเผ่าอื่น) จึงเกิดนโยบายแยกชาวอะบอริ จิ้น แท้ๆ ไปอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ โดยในเรื่องได้จับนูล่าห์ เด็กลูกครึ่งหรือเด็กที่ผิวขาวกว่าชาวอะบอริ จิ้นแท้ๆ ไปเลี้ยงดูในสถานเลี้ยงดูเด็กของรัฐหรือของโบสถ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมระหว่างเผ่าพันธุ์อีก ดังนั้น ชาวอะบอริจิ้นแท้ ๆ จะถูกแยกไปและดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม แต่พวกลูกครึ่งจะถูก ‘กลืน’ เข้าไปในสังคมของคนผิวขาว นี่คือที่มาของนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์ (policy of assimilation) เป็นชน “ชายขอบ” วิธีคิดของรัฐบาลและศาสนจักรโดยการแยกเด็กออกจากครอบครัวนั้นเป็นวิธีการที่จะทำลายจิตวิญญาณของชาวอะบอริจิ้น อย่างได้ผลที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการที่นางเอกซึ่งเป็นคนอังกฤษ เข้ามาในประเทศ และจัดการสิ่งต่างๆ ในประเทศ รวมถึงในตอนหลังๆ พยายามจะจัดการกับเด็กอะบอริจิ้นคนหนึ่ง ให้เป็นไปในทางที่ตัวเองและชาวตะวันตกทั่ว ไปมองว่า นี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา และการกระทำแบบนั้นเห็นได้ชัดว่า จริง ๆ แล้วคนขาวก็ไม่ ได้เข้าใจอะไรเลย แต่กำลังจะพยายามกลืนกินความเป็นชาวพื้นเมืองไปให้เหมือนกับตนเองเท่านั้น รวมถึงบทสรุปของหนังก็เป็นเหมือน ความคิดจากสายตาคนนอก ที่เป็นเพียงคนนอกและไม่มีทาง เข้าใจอย่างแท้จริง ในเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอะบอริจิ้น ยังคงดำเนินต่ออย่างเป็นระบบ และทำให้ถูกกฎหมายมากขึ้น โดยรัฐบาลในช่วงนั้นดำเนินนโยบาย Integration เพื่อกำจัดเลือดอะบอริจิ้นให้สิ้นจากแผ่นดินออสเตรเลีย เห็นได้จากมีการจับเด็กเลือดผสมไป และพยายามตามล่าเมื่อทราบเบาะแสจะตามไปถึงที่ จากในเรื่อง ตำรวจไปยัง Faraway Downs และสอบถามซาร่าห์ ว่าพบเห็นเด็กเลือดผสมหรือไม่ ซาร่าห์ ปฏิเสธว่าไม่มี ทางตำรวจ จึงพยายามจะค้นและกำชับว่าถ้าทราบ เบาะแสเมื่อไหร่ให้รีบแจ้งทันที หัวใจหลักของนโยบายคือ การแยกเอาเด็กอะบอริจิ้นลูกครึ่งออกมาจากครอบครัว แล้วบอกเด็กๆ ว่าพวกเขาถูกทอดทิ้ง จากนั้นเอาไปอบรมในสถานกักกันที่ดูแลโดยโบสถ์ต่างๆ ซึ่งการอบรมส่วนใหญ่คือ การฝึกพวกเขา ให้พร้อมกับการเป็นคนใช้ตามบ้านและแรงงานในฟาร์ม นอกจากนี้ ยังสอนให้เกลียดชาติพันธุ์ที่ต่ำต้อย องตัวเอง หรือไม่ก็ให้คน ‘ใจบุญ’ รับไปเป็นลูกบุญธรรมตั้งแต่ยังไม่รู้ความมากนัก
ในขณะเดียวกัน เมื่อดูด้านความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวกับชนพื้นเมืองคือชาวอะบอริจิ้นแล้ว พบว่า คนผิวขาวเหล่านี้กระทำตนเป็นผู้กดขี่ชาวอะบอริจิ้น ทั้งนี้เพราะนโยบายของรัฐผิวขาว ที่กระทำต่อชาวอะบอริจิ้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กดขี่ จนถึงการกลืนวัฒนธรรม อาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย เป็นประวัติศาสตร์แห่งการปิดปากชาวอะบอริจิ้น คนผิวขาวมีความพยายามที่จะเปลี่ยนชาวอะบอริจิ้นให้ “เจริญ” ขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “ทำให้เป็นคนผิวขาว” รวมทั้งเปลี่ยนจากคนนอกรีตให้หันมานับถือคริสต์ศาสนา มีการก่อตั้งโรงเรียนและ สำนักสอนศาสนามากมาย เพื่อสอนชาวอะบอริจิ้น แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จเพราะ ชาวอะบอริจิ้น หากไม่หนีไปก็ต่อต้าน นอกจากนี้คนผิวขาว ยังมีความเชื่อว่า ชนเผ่าอะบอริจิ้นเป็นเผ่าพันธุ์ที่ไม่อาจพัฒนาได้ และจะต้องสูญพันธุ์ในที่สุด
การถ่ายทอดภาษาของชาวอะบอริจิ้น ทำให้สามารถโยงประเด็นให้เห็นถึงการครอบงำของเจ้าอาณา นิคม ในรูปแบบของภาษา ชนพื้นเมือง ไม่เพียงแต่ถูกบุกรุก และยึดที่ดินเป็นเมืองขึ้นและฉกฉวยทรัพยากรธรรมชาติไปเท่านั้น ยังถูกครอบงำทางวัฒนธรรมโดยมีภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญ คนพื้นเมืองถูกบังคับให้เรียนรู้ภาษาของเจ้าอาณานิคม เพื่ออธิบายสภาพแวดล้อมในบ้าน เมืองของตนเอง ผลก็คือ เกิดความแปลกแยกในการใช้ภาษา เพราะภาษาของเจ้าอาณานิคมย่อมไม่มีวงศัพท์ที่จะอธิบายสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมของประเทศอาณานิคมได้ ชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ที่ใช้ ภาษา ที่ต่างกันถูกจับไปเป็นทาสทำงานในไร่ของชนผิวขาว และชนหลายเผ่าเหล่านี้ ถูกบังคับให้อยู่รวมกันโดยที่สื่อสาร กันไม่รู้เรื่อง และให้ใช้ภาษาของคนผิวขาว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการสื่อสารที่อาจนำไปสู่การลุกฮือขึ้นสู้ได้ นั่นก็คือการถูกบังคับ ให้ใช้แรงงานในไร่และเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผลก็คือเกิดสิ่งที่เรียกว่า “english” แทนที่จะเป็น “English” คือ เกิดภาษาอังกฤษ ใหม่ที่ผ่านการยื้อยุดระหว่างภาษา English กับภาษาดั้งเดิม นโยบายกลืนเผ่าพันธุ์ของรัฐบาลผิวขาวไม่ได้ทำให้เด็กอะบอริจิ้น “เติบโตอย่างเหมาะสม” (grow up proper) ผลที่เกิดจากนโยบายนี้กลับทำให้เด็กอะบอริจิ้นลืมรากเหง้าของตนเอง ไม่รู้ว่าพ่อแม่ของตนเป็นใคร การที่อ้างว่านำเด็กไป “เลี้ยงดู” นั้น แท้จริงแล้วกลายไปเป็น “ทาส” หรือแรงงานเด็ก เด็กถูกลงโทษอย่างทารุณหากทำผิดเล็กๆ น้อยๆ และเด็กหนึ่ง ในสิบคนถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผลพวงจากนโยบายดังกล่าวทำให้ชาว อะบอริจิ้นจำนวนมากติดยาเสพติด ตกเป็นทาสของ สุรา วัยรุ่นอะบอริจิ้นติดคุกมากกว่าวัยรุ่นผิวขาว 30 เท่า และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย เรียกกลุ่ม คนเหล่านี้ว่า “Stolen Generation”
หนัง Australia ไม่ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ ซึ่งก็พอเข้าใจอยู่ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น หนังเปิดฉากได้อลังการ แทบทุกฉากในเรื่องทำให้ชื่นชอบกับวิวสวย ๆ โดยมีฝูงจิงโจ้มากระโดดให้ได้ดู มีต้นไม้รูปร่างแปลกๆ เหมือนแจกัน บางฉากเหมือนอยู่ที่ แอฟริกา ฯลฯ มีวิวสวย ๆ เยอะมาก ด้วยความที่มีดาราคนโปรดทั้ง 2 คนมาแสดงนำคือ นิโคล คิดแมน กับ ฮิวจ์ แจ็กแมนจึงทำให้อยากดูหนังเรื่องนี้ การแสดงของนิโคล คิดแมน และฮิวจ์ แจ็กแมน ไปด้วยกันได้ดี บุคลิกแบบ เลดี้ ซาร่าห์ นั้นเป็นนางเอกผอมมาก มีบางฉากเวลาใส่เสื้อแขนกุด เห็นเป็นโครงกระดูก ส่วนบุคลิกหนุ่ม ต้อนวัวหล่อล่ำนี้ ไม่รู้จะเรียกว่า อ้วนหรือล่ำดี คงผสมกัน แต่ก็มีเสน่ห์สุดๆ (นี่อาจเป็นอาการชื่นชอบส่วนบุคคล) แต่ทุกฉาก ที่ฮิวจ์ แจ็กแมน ออกมาโดยเฉพาะในครึ่งแรกต้อนวัวนั้น ทำให้เราเคลิบเคลิ้มได้จริงๆ ยิ่งตอนที่พระเอกโกนหนวดเครา เพื่อจะไปงานเต้นรำกับนางเอกนี่หน้าหล่อมาก หนังดูเพลินๆยาวถึง 3 ชั่วโมง แต่ออสเตรเลีย เป็นหนังที่ทำให้เราประทับใจ และร้องไห้ออกมาหลายฉาก และรู้สึกว่าเป็นหนังแนวมหากาพย์ ที่ดูสนุกมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่ง
เพราะภาพประเทศออสเตรเลีย ที่ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างสวยงามนั้น สิ่งที่เรารู้สึกอย่างหนึ่งในหนังเรื่องนี้คือ หนังพยายามจะถ่ายทอดประเทศออสเตรเลียและชาวพื้นเมืองอะบอริจิ้น ออกมาให้ได้ ถือเป็นความพยายามที่ดี แต่สายตาของชาวตะวันตกที่มองออสเตรเลียนั้น เป็นเรื่องน่าเสียดายอยู่ว่า พวกผิวขาวได้พยายามยัดเยียดสิ่งต่าง ๆ ให้เขาเข้าไปเองโดยที่พวกเขาไม่มีความต้องการเลย สิ่งที่ได้จากหนังเรื่องออสเตรเลียอีกก็คือ วัฒนธรรมที่เห็นเด่นชัดของชาวอะบอริจิ้น คือการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างหนึ่ง คือ การเล่าเรื่องและการร้องเพลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การสืบทอดประวัติศาสตร์ของชนเผ่าเห็นได้จากการเล่าเรื่องของ นูลาห์และการร้องเพลง ที่ได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จาก คิง จอร์ช พ่อมดชาวอะบิริจิ้น ผู้เป็นตา นั่นเอง
ผู้เขียนขอสรุปความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของคนผิวดำและคนผิวขาว คือ รากเหง้าทางวัฒนธรรมของคนผิวขาว ไม่ได้ผูกพันอยู่กับธรรมชาติที่เป็นถิ่นกำเนิด ในขณะที่ชาวอะบอริจิ้น จะมีความรักความผูก พันอยู่ที่บ้าน คือ เน้นถิ่นฐานอันเป็นถิ่นกำเนิดของเผ่าพันธุ์เป็นสำคัญ เป็นที่ซึ่งวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ได้ฝังรากอยู่ มีแม่น้ำ ต้นไม้ ก้อนหิน และภูเขา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงธรรมชาติ แต่เป็นที่สถิตย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การพรากชาว อะบอริจิ้น ไปจากถิ่นฐานเดิมก็เท่ากับเป็นการแล่เนื้อหนังพวกเขา เพราะถิ่นฐานที่กำเนิดเปรียบเสมือนผิวของคนเหล่านี้ หนังทำได้ซึ้งดี เพลงประกอบเพราะ ใช้เพลง Somewhere over the rainbow เป็นเพลงประกอบ คนร้องเสียงใสมาก

พลอยรัตน์ พวงชมภู

ภาคผนวก : มารู้จักชาวอะบอริจิ้น

ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดติดอันดับ 4 ของโลก 4 รองจาก นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และสวีเดน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นประเทศในฝันที่ใครหลายคนอยากเดินทางไปเที่ยวไปศึกษาต่อ หรือแม้กระทั่งไปตั้งรกรากหลายเมืองใหญ่ เช่น เมลเบิร์น และซิดนีย์ ติดอันดับเมืองน่าอยู่อันดับต้นๆ แต่ภาพสวยสดใสนี้...อาจมีบางด้านที่สะท้อนความจริงออกมาไม่หมด ในแผ่นดินเดียวกัน ชนเผ่า ‘อะบอริจิ้น’ เจ้าของแผ่นดินที่กลายมาเป็นชนกลุ่มน้อย กลับมีคุณ ภาพชีวิตในลำดับท้ายๆ สุดของเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ ชาวอะบอริจิ้น คือกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บนเกาะออสเตรเลียมานานมากคาดว่าไม่ต่ำกว่า 38,000 - 50,000 ปี โดยมีอารยะธรรมแบบดั้งเดิม มีอาชีพล่าสัตว์ จับปลา เพาะปลูก มีอาวุธและอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยเป็นอย่างง่ายๆไม่ซับซ้อน นอกจากมีชาวอะบอริจิ้น อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วแผ่นดินออสเตรเลียและเกาะแทสมาเนีย แล้ว ยังมีชาวเกาะอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถือเป็นชนดั้งเดิมของออสเตรเลียเช่นกันคือ กลุ่มชาวเกาะทอร์เรสสเตรท Torres Strait ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เกาะ Torres Strait มักเดินทางด้วยเรือคะนู สืบเชื้อสายมาจากชาวปาปัว หมู่เกาะนิวกินี และใช้ภาษาปาปัวนิวกินี ปัจจุบันเรียกชนทั้งสองกลุ่มรวมกันว่า อินดิจิเนียส ออสเตรเลียน สำหรับภาษาของชาวอะบอริจิ้น แยกเป็นเผ่าต่างๆมากมาย
ในช่วงศตวรรษที่ 18 คาดว่ามีภาษาแตกต่างกันถึง 350-750 ภาษา แต่ในศตวรรษที่ 21 นี้ คาดว่าภาษาพูดของชาวอะบอริจิ้น ที่ยังคงใช้กันอยู่น่าจะลดน้อยลงไม่เกิน 200 ภาษา หลังจากชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ชนเผ่าดั้งเดิมเหล่านี้ค่อยๆ ถูกขับไล่ให้เข้าไปในแผ่นดินมากขึ้น
ในช่วงแรกที่ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย ค।ศ ।1788 คาดว่าจำนวนของชาวอะบอริจิ้น มีอยู่ประมาณ 750,000 – 1,000,000 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 458,520 คน ปัจจุบันแม้ว่าประเทศออสเตรเลีย จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สังคมของชาวอะบอริจิ้นยังล้าหลังกว่าชาวออสเตรเลียทั่วไป ปัญหาสำคัญ คือ การด้อยการศึกษา ความยากจน แอลกอฮอล์ ปัญหาการว่างงาน จากการสำรวจในปี 2001 พบว่าชาวอะบอริจิ้น มีอัตราการว่างงานสูงถึง 20% ขณะที่อัตราว่างงานของชาวออสเตรเลียอื่นเพียง 6।7% ดังนั้น ความเป็นอยู่ของ ชาวอะบอริจิ้นส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับยากจนอยู่ โดยชนพื้นเมืองที่เรียกว่า อะบอริจิ้น มีอายุสั้นกว่าคนออสซีทั่วไปถึง 25 ปี ส่วนใหญ่ที่ติดคุก 1 ใน 5 จะเป็น คนอะบอริจิ้น ขณะที่คนออสซีโดยรวมมีคุณภาพชีวิตแสนดีอยู่อันดับ 4 จากข้างต้น ชาวอะบอริจิ้นในแผ่นดินเดียวกัน มีคุณภาพชีวิตอยู่อันดับที่ 99 เกือบรั้งสุดท้ายจะชนะก็แค่คนจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น คนทั่วไปอาจให้ความสนใจข่าวคราวของ อะบอริจิ้นไม่มากนัก หลายคนอาจไม่เคยรู้เลยว่ามีชนพื้นเมืองที่มีผิวดำ หัวหยิก ดั้งยุบ โหนกแก้มสูงอยู่ในออสเตรเลียซึ่งได้รับสมญาว่า ‘ยุโรปแห่งเอเชีย’ จนกระทั่งมีข่าวจลาจลกลางนครซิดนีย์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ (พ।ศ।2548) ที่ผ่านมา เมื่อโทมัส ฮิคกี เด็กอะบอริจิ้น ถูกตำรวจขับรถไล่ล่าจนเสียชีวิต ทำให้ชาวอะบอริจิ้น ที่เห็นเหตุการณ์ไม่พอใจตำรวจออกมาก่อจลาจลปะทะกับตำรวจยาวนานหลายชั่วโมง จนเป็นข่าวหน้าหนึ่งไปทั่วโลก เรื่องราวเกี่ยวกับอะบอริจิ้น ชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินออสเตรเลียนานกว่า 30,000 ปี ไม่ใช่แค่ชนเผ่าที่ ขว้างบูมเมอแรงได้ พวกเขาเป็นคนด้อยโอกาสที่สุดในสังคม ส่วนใหญ่มีสุขภาพย่ำแย่ ยากจน ตกงาน ถูกทำร้าย หรือไม่ก็กระทำ ความรุนแรงในครอบครัวจนครอบครัวแตกสลาย กลายเป็นวัฏจักรอุบาทว์ที่ยากจะถอนตัวได้

ประวัติศาสตร์ที่แสนโหดร้าย

คนผิวขาวเริ่มมองอะบอริจิ้นไม่ต่างจากแมลงศัตรูพืช (‘Blacks’ as ‘Pests’) จึงใช้วิธีป้อง กัน อะบอริจิ้น ไม่ให้มาทำลายพืชตัวเองไม่ต่างจากที่ใช้กับสัตว์ คือการยิง ฆ่าและข่มขืน ใช้วิธีหนักๆ เพื่อให้หลาบจำ ในช่วงปี 1814 ที่ไร่ ในเมืองแอปพิน ทางตอนใต้ของซิดนีย์ อะบอริจิ้นกลุ่มหนึ่งลงมาเด็ดข้าวโพดในไร่ พวกคนงานคุม ไร่ซึ่งเป็นนักโทษ ชาวอังกฤษก็กราดยิงทันที 4 ศพ และเพื่อให้หลาบจำขึ้นไปอีก นักประวัติศาสตร์ชื่อ คารอล วิลสตัน บันทึกว่า ได้มีการ ‘ฆ่าสั่งสอน’ ชาวอะบอริจิ้น ด้วยการฆ่ายกครอบครัวของ ‘บิทูกัลป์ลี’ คือลอบเข้าไปฆ่าผู้หญิงที่เป็นแม่ และลูกอีก 2 คน ผู้หญิงนั้นถูกมัดตัดแขนทั้ง 2 ข้าง, ถลกหนังหัว เด็กคนหนึ่งถูกทุบกะโหลกแตกด้วยปืนคาบศิลา แล้วเอาศพทิ้งประจาน ให้เห็น คดี ‘ซาราห์ ฮอคคินสัน’ ผู้หญิงผิวขาวอ้างว่าสามีถูกอะบอริจิ้นฆ่า จึงให้คนผิวขาว 5 คน ไปฆ่าล้างแค้น ด้วยการจับเด็กอะบอริจิ้น 2 คนมัดมือ คนหนึ่งถูกตัดหัว อีกคนหนึ่งถูกฟันทั้งตัว คดีถูกนำมาพิจารณาในศาลอาณานิคมปี 1799 แม้ศาลสรุปว่าคนผิวขาวมีความผิด แต่ศาลก็อนุญาต ให้ปล่อยตัวไป ความขัดแย้ง การปะทะกันและการฆ่าอย่างโหด เหี้ยม ทำให้อะบอริจิ้นบางส่วนลุกขึ้นสู้ เช่น ‘เพมูลาย’ โดยลอบโจมตีคนผิวขาวหลายครั้ง เคยถูกยิงหัวมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่ก็หนีไปได้ทั้งๆ ที่ล่ามโซ่ไว้ แล้วกลับ ไปสู้อีก แต่สุดท้ายในปี 1802 ก็ถูกฆ่าตาย เมื่อมีการปะทะหนักๆ ขึ้น ชาวอังกฤษก็ไม่ต่าง จากพวกอเมริกัน ที่ทำกับอินเดียนแดง คือใช้ทหารออกกวาดล้าง ปล้น สังหารหมู่ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่หุบเขาฮอดเยอร์รี บริเวณแม่น้ำเนพีน ปี 1816 การฆ่าแบบทารุณเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น มีการยิงกราดใส่ อะบอริจิ้น ไม่เลือกว่าคนแก่ เด็ก ผู้หญิงหรือผู้ชายตายทันที 14 ศพ โดยชนเผ่ามาห์รูธ อะบอริจิ้น กลุ่มแรกที่พวกผิวขาวพบนั้น ว่ากันว่าเดิมทีมีอยู่ประมาณ 400 กว่าคน แต่หลังจากนั้น 57 ปี คือประมาณปี 1845 สำรวจพบว่าเผ่าทั้งหมดเหลือคนอยู่แค่ 4 คน นอกนั้นตายหมด ที่เกาะแทสมาเนีย การฆ่าครั้งที่ถือว่าเหี้ยมที่สุด คือการฆ่าของกองทหารกองร้อยที่ 40 ที่ถูกส่งมาจากแคมพ์เบล ทาวน์ ทหารมีกำลังแค่ไม่ถึง 10 คน แต่อาศัยอาวุธครบมือและทันสมัย สามารถไล่ต้อนอะบอริจิ้น 70 คน เข้าไปติดอยู่ ในซอกเขา แล้วระดมยิงใส่ บางทีก็ คล้องเชือกลากเด็กและผู้หญิงไปตามซอกหินจนหัวกระแทกกับหินสมองแตกกระจาย ทหารบางรายถึงกับบอกว่า “อะบอริจิ้น คือเป้าฝึกซ้อมความแม่น เรายิงมันเหมือนกับที่เราฝึกยิงนกกระจอก” ทหารคนหนึ่ง ชื่อว่า ไมเคิล โฮว์ ซึ่งมีคำบอกเล่าว่า “ชอบฆ่าอะบอริจิ้น มากยิ่งกว่าสูบไปป์” วิธีการฆ่าแบบที่โฮว์ชอบมากๆ คือ การเอาปืน พาดวางรออะบอริจิ้นผ่านมาจะยิงทันที บางครั้งใช้นิ้วหัวแม่เท้าเหนี่ยวไกปืน ผู้ตั้งถิ่นฐานบางรายบอกว่า เนื้ออะบอริจิ้น ที่ถูกฆ่าแล้ว...ก็จะเอามาให้สุนัขกินแทนอาหาร ปี 1824-1826 อะบอริจิ้นใน แทสมาเนีย พยายามรวมตัวกันสู้ แต่ชาวอังกฤษอพยพและหนังสือพิมพ์ พ่อค้ากด ดันให้รัฐบาลตอบโต้แบบให้สิ้นซาก มีการตั้งค่าหัว หากใครจับอะบอริจิ้นเป็นๆ ได้ 5 ปอนด์สำหรับผู้ใหญ่ 1 คน และ 2 ปอนด์สำหรับเด็ก 1 คน หนังสือพิมพ์ โคโลเนียนไทม์ ตีพิมพ์บทบรรณาธิการ เรียกร้องให้ย้ายพวกพื้นเมืองออกจากบริเวณ ที่ตั้งถิ่นฐานของคนผิวขาวให้หมด ในข้อความที่ยังปรากฏเป็นหลักฐานทุกวันนี้ “รัฐบาลต้องย้ายพวกคนพื้นเมืองออกไป ถ้าไม่ ออกเราจะเป็นผู้ล่ามันเองเหมือนกับที่เราล่าสัตว์ป่าและทำลายมันให้หมด”ประสบการณ์ชีวิตของทรูกานินี อะบอริจิ้น บนเกาะแทสมาเนียรายสุดท้าย สะท้อนโศกนาฏกรรมทั้งหมดได้เป็นอย่างดี เธอถูกนักล่าแมวน้ำชาวอังกฤษข่มขืนตั้งแต่เด็ก น้องสาว 2 คนถูกลักพาตัวไปเป็นทาส แม่ถูกฆ่าตายขณะที่ทั้งครอบครัวกำลังนั่งล้อมรอบกองไฟ ลุงถูกยิงทิ้ง แม่เลี้ยงถูก จับขาย ให้คณะละครสัตว์และส่งไปเมืองจีน เมื่ออายุ 17 เธอถูกกักขังอยู่ในค่ายคุมขัง พาราวีนา นักรบอะบอริจิ้นหนุ่ม คู่หมั้นของเธอพาเพื่อนมาช่วย แต่ถูกจับได้เสียก่อน คู่รักของเธอและเพื่อนถูกสับมือ และทิ้งลงน้ำให้ตาย ไปต่อหน้าต่อตา เธอที่อยู่ในอาการช็อกถูกพาไปข่มขืน ทรูกานินี จากโลกนี้ไปเมื่อปี 1874 ในฐานะแทสมาเนียนคนสุดท้าย ศพเธอถูกขุดโดยคณะ แพทย์หลวง ได้เลาะกระดูกเธอทุกชิ้น แล้วจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ แทสมาเนีย ทั้งที่คำขอสุดท้ายของเธอ“อย่าปล่อยให้ใครมาหั่นร่างฉัน” ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี อะบอริจิ้นอย่างน้อย 3 รุ่น ตกเป็น ‘รุ่นที่ถูกพลัดพราก’ (The Stolen Generation) ทำให้ทุกวันนี้ คนอะบอริจิ้นทุกคนจะมีคนในครอบครัวอย่างน้อย 2-3 คนเป็นรุ่นที่ถูกพลัดพราก เช่น ยายเคยถูกแยกออก จากทวด แม่ถูกแยกจากยาย ลูกถูกแยกจากแม่ มิลลิเซน ถูกพรากออกจากบ้านตั้งแต่อายุได้เพียง 4 ปี ถูกส่งไปอยู่ที่สถาน กักกัน (โบสถ์) จนอายุ 18 ปีจึงต้องไปทำงานเป็นคนใช้ในฟาร์ม เธอพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้งด้วยเหตุผลที่เธอบอกว่า ชีวิตเธอเต็มไปด้วยบาดแผลที่ยากจะเยียวยา ว้าเหว่ ไม่ไว้วางใจ เกลียดชัง และขมขื่น ชีวิตของ โทมัส ฮิคกี เด็กอะบอริจินที่ถูกตำรวจขับรถไล่ล่าจนเสียชีวิต และเป็นต้นเหตุให้ชาวอะบอริจิ้นที่เรดเฟิร์น ไม่พอใจตำรวจออกมาก่อจลาจลปะทะกับตำรวจ เป็นภาพชีวิตโดยทั่วไปของหนุ่มสาวอะบอริจิ้นในปัจจุบัน ฮิคกี ย้ายเข้ามา ที่เรดเฟิร์น ย่านพักอาศัยของคนอะบอริจิ้นใจกลางซิดนีย์ ด้วยความหวังที่จะมีอนาคตที่ดีขึ้น เรดเฟิร์น เคยเป็นย่าน อุตสาหกรรมที่มีงานและที่พักราคาถูกดึงดูดแรงงานอะบอริจิ้น ตั้งแต่ช่วงปี 1920 แต่การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแบบเก่าถูกยกเลิก คนอะบอริจิ้นจำนวนมากตกงาน สำหรับเยาวชนในเรดเฟิร์น แทบเป็นไ ป ไม่ได้เลยที่จะหางานดีๆ ทำ ผลที่ตามมาคือ หลายคนหันหน้าพึ่งพาเหล้า ยาเสพติด ความยากจน ความรุนแรง ในครอบ ครัว ครอบครัวแตกแยก และที่มาพร้อมๆ กันคือ การทำร้ายและข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เยาวชนทุกคน ในเรดเฟิร์นล้วน เคยถูกตำรวจตรวจค้นและข่มขู่ สถานการณ์ล่าสุด หน่วยงานการเคหะอะบอริจิ้น เจ้าของที่พักอาศัยของ คนอะบอริจิ้น ในเขตเรดเฟิร์นและพื้นที่ใกล้เคียง มีโครงการจะรื้อถอนที่พักอาศัย ‘เสื่อมโทรม’ เหล่านั้น ไปทำประโยชน์ที่ได้ผล ในเชิงธุรกิจ มากกว่า

ไม่มีคำ ‘ขอโทษ’ และทำไมต้องขอโทษ

ในรายงาน Bringing Them Home คณะกรรมการระดับชาติ ได้เสนอแนวทางการแก้ ปัญหาเพื่อเยียวยาการบอบช้ำ และเพื่อให้คนในชาติเกิดความปรองดองกัน Reconciliation โดยขอให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยราชการ โบสถ์ รวมทั้งรัฐบาล ปัจจุบัน ‘ขอโทษ’ กับการกระทำอันเลวร้ายที่ได้ก่อขึ้น และให้กำหนดวันขอโทษแห่งชาติ (National Sorry Day) หรือ วันปรองดองแห่งชาติ (Reconciliation Day) ในวันที่ 26 พฤษภาคมของทุกปีเพื่อรำลึกถึงวันที่รายงานได้เสร็จสิ้นลง แต่สิ่งที่รัฐบาลจอห์น โฮเวิร์ดตอบสนอง คือไม่มีคำขอโทษ มีเพียงการจัดงบประมาณให้ 64 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ให้คณะกรรมาธิการชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส และชาวอะบอริจิ้น (Aboriginal and Torres Strait Islander Commission (ATSIC)) 8 ปีที่เรียกร้องให้มีการขอโทษแห่งชาติไม่ได้รับการตอบสนอง ประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดที่คนอะบอริจิ้น ถูกคนขาวซึ่งมาตั้งรกรากในออสเตร เลีย ทำร้ายมายาวนานกว่า 200 ปียังไม่ได้รับการเยียวยา จนมาถึงวันที่ 5 เมษายน 2547 นายกรัฐ มนตรีจอห์น โฮเวิร์ด ประกาศแผนจะยุบคณะกรรมาธิการชาวอะบอริจิ้น (ATSIC) ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี 2533 เป็นคณะกรรมการที่เลือกตั้ง โดยคนอะบอริจิ้น โดยให้เหตุผลว่า การใช้ระบบเลือกตัวแทนเพื่อชนพื้นเมืองล้มเหลว รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ปัญหาให้คนอะบอริจิ้น เอง 21 เมษายน 2547 โมโพร์ หญิงชราชาวอะบอริจิ้น แต่งกายและแต่งหน้าแบบชนพื้นเมือง บุกเข้าประชิดตัวนายกรัฐมนตรีโฮเวิร์ด แล้วใช้กระดูกจิงโจ้ ยาวประมาณ 2।5 เซนติเมตร ชี้เข้าใส่ตัวนายกรัฐมนตรี เพื่อสาปแช่ง แผนยุบคณะกรรมาธิการ ATSIC ซึ่งเจฟฟ์ คราก อดีตประธาน ATSIC อธิบายว่า นี่คือการสาปแช่ง ตามความเชื่อของอะบอริจิ้น ซึ่งจะมีผล 2 ทางคือ ทำให้นายกฯโฮเวิร์ดมีดวงตาเห็นธรรมแล้วหันกลับมาใส่ใจปัญหาของชาวอะบอริจิ้น หรือไม่ก็ให้ป่วยจนถึงตาย ต่อข้อสงสัยที่ว่า “จะมีอะไรดีขึ้นกับการขออภัยความผิดต่าง ๆ ในอดีตนานมาแล้ว แล้วทำไมคนไม่ได้ทำผิดต้องขอโทษแทนคนทำผิดด้วย” “เมื่อเรายอมรับว่าเราทำผิด สถานการณ์ในตอนนั้นช่วยอธิบายการกระทำของเราได้ แต่มิใช่เป็นข้อแก้ตัว ในการกระทำนั้นๆ ผิดก็คือผิด เมื่อใดเรารู้ว่าการกระทำนั้นผิด นั่นหมายถึงว่า เราจะไม่ทำผิดอีก และรับรู้ถึงความทุกข์ทรมาน การขออภัยคือการแสดงความเห็นใจต่อผู้อื่น เป็นการบอกให้เขาทราบว่า การกระทำของเราทำให้เขาเจ็บ ลูกหลานของผู้กระทำผิดมาสารภาพความรู้สึกเสียใจที่ได้ทำผิด จริงอยู่ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องรับบาปของบรรพบุรุษ เช่น ปู่ดิฉันปล้นที่ดินของปู่คุณมา ดิฉันไม่ต้องรับผิดชอบในการกระทำผิดในครั้งนั้น แต่ถ้าดิฉันกินนอนสุขสบายอยู่ในบ้านที่ปู่ปล้นมา ขณะเดียวกัน คุณและครอบครัวของคุณมีความเป็นอยู่อย่างลำบากยากแค้น นั่นแหละดิฉันจึงรู้สึกผิด เพราะดำเนินการ เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการกระทำบาปแต่แรก จึงจำเป็นต้องขออภัย บาประดับโลกยากแก่การทำให้ดีได้ แต่การขออภัยที่ดีเราก็ต้องลองทำดูก่อน การขออภัยที่ดีคือ การทำให้ความสมดุลกลับมาดังเดิม จึงนับว่าเป็นการเสาะหาวิธีอยู่ร่วม กันอย่างกลมกลืนกับสรรพสิ่งที่สร้าง”

หมายเหตุ : - ชนพื้นเมืองออสเตรเลียเรียกโดยทั่วไปว่าชาวอะบอริจิ้น แต่ทางการจะใช้คำว่าชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสและชาวอะบอริจิ้น เพราะทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างทางรูปลักษณะอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม ชนพื้นเมืองทั้ง 2 กลุ่ม เผชิญชะตากรรมเดียวกัน ในที่นี้จึงขอใช้คำว่าชาวอะบอริจิ้น เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ