2552-08-03

กฎหมายเกี่ยวกับยา

กฎหมายเกี่ยวกับ“ยา” ที่ใช้ทางการแพทย์ 3 กลุ่ม

นิยามของยา ที่ใช้ทางการแพทย์ ในสถานพยาบาลถูกควบคุมด้วย กฎหมายหลักคือพระราชบัญญัติ แบ่งเป็น3 กลุ่ม ตามลักษณะของยา โดยมีการออกเป็นทั้งกฎกระทรวง ข้อบังคับ และประกาศกระทรวงต่างๆจำนวนมาก ที่ใช้อยู่แล้ว ในปัจจุบัน และประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา จำนวน 437 ฉบับ(25 กพ.2552) ในการออกกฎหมายใดๆจำเป็นต้องครอบคลุมยาทั้ง 3กลุ่ม เพื่อให้ บุคคลากรทางสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล คือ อย.(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) โดยแต่ละกฎหมายมีข้อบังคับในมิติต่างๆของการใช้ยาในความเป็นจริง และหลายกฎหมายมีบทลงโทษในตนเองอยู่แล้ว ได้แก่

1. กลุ่มพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐* มีกฎหมาย 5 ฉบับ และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในราชกิจจานุเบกษา ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 98 ฉบับ รวมเป็น 99 ฉบับ (ตามแนบ)
๑ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ๘๔ ๑๐๑ ก ฉบับพิเศษ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ๗
๒ พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘ ๙๒ ๔๒ ก ฉบับพิเศษ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ ๖๐
๓ พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒ ๙๖ ๗๙ ก ฉบับพิเศษ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ๒๙
๔ พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๗ ๑๐๑ ๘๕ ก ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๗ ๔๑
๕ พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๐ ๑๐๔ ๒๗๘ ก ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ๑
*ร่าง พรบ.ยาฉบับ พศ.. ที่กำลังปรับปรุงใหม่อยู่ในขั้นกฤษฎีกา
2.กลุ่มพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ (ออกแทน พ.ศ.๒๔๖๔) มีกฎหมาย 10 ฉบับ และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในราชกิจจานุเบกษา ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 197 ฉบับ รวมเป็น 207 ฉบับ (ตามแนบ)
๑ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช ๒๔๖๕ ๓๙ ๐ ก ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ๔๒๘
๒ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๗๙ ๕๔ ๐ ก ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๐ ๒๗๖
๓ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๒ ๗๖ ๑๐๓ ก ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๒ ๕๑๖
๔ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘ ๙๒ ๔๒ ก ฉบับพิเศษ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ ๖๘
๕ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๙๖ ๖๓ ก ฉบับพิเศษ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๒ ๔๐
๖ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ [กำหนดบทลงโทษของยาเสพติดให้โทษประเภทกระท่อมให้ต่ำลง] ๑๐๒ ๑๕๔ ก ฉบับพิเศษ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ๓๑
๗ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [เพิ่มเติมนิยามคำว่า "เสพ" "บำบัดรักษา" ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับความหมายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ และการยึดยาเสพติดประเภทต่างๆ เพิ่มบทกำหนดโทษและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจำหน่าย ยา
๘ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ (แก้ไขเพิ่มเติมให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอำนาจทำลายยาเสพติดให้โทษที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบหรือหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้) ๑๑๗ ๑๑๑ ก ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ ๓๕
๙ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ๑๑๙ ๙๖ ก ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๕ ๘
๑๐ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๔ ๗๘ ๘๗ ก ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ๑๑๔๖


3.กลุ่มพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีกฎหมาย 4 ฉบับ และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในราชกิจจานุเบกษา ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 124 ฉบับ รวมเป็น 128 ฉบับ (ตามแนบ)
๑ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ๙๒ ๕ ก ฉบับพิเศษ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๘ ๘๖
๒ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ ๑๐๒ ๑๕๔ ก ฉบับพิเศษ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ๔
๓ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๐๙ ๑๔ ก ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ๘
๔ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ (กำหนดให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ยึดมาตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลและไม่มีผู้ใดอ้างความเป็นเจ้าของภายในเวลาที่กำหนด และให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ได้รับมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบของกลางวัตถุออกฤทธิ์โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด และแก้ไขเพิ่มเติมให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบวัตถุออกฤทธิ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น) ๑๑๗ ๑๑๑ ก ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ ๓๒

โดยสามารถสืบค้นได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/index/index.htm
..อิทธพร คณะเจริญ เรียบเรียง

ลัทธิบริโภคนิยมคืออะไร

ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกวันนี้ ดำรงชีวิตอยู่ก็ด้วยปัจจัย 4 คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้นแล้วที่เขาพูดกันว่า ตอนนี้ คนไทยกำลังอยู่ในช่วงของ กระแสบริโภคนิยม คุณคิดหรือไม่ว่าแล้วอะไรล่ะที่ทำให้คนไทยต้องเข้าไปสู่ลัทธิบริโภคนิยม บ้านแบบไทย ๆๆ ที่เราเคยอยู่ อาหารไทย ๆ ที่เราเคยกิน เครื่องแต่งกายแบบไทยๆที่เราเคยสวมใส่ ยารักษาโรคแบบภูมิปัญญาไทย หายไปไหนหมด เพราะเหตุใดทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ! คุณทราบหรือไม่ ^^